วันที่ 19 กรกฏาคม 2567 เวลา 08.00 น. ณ ลานเอนกประสงค์โดม โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี คณะผู้บริหาร คณะครู อาจารย์ นักเรียน ได้ร่วมประกอบพิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ พิธีทำบุญตักบาตร ข้าวสาร อาหารแห้ง
วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08.00 น.คณะผู้บริหาร คณะครู อาจารย์ นักเรียน ร่วมพิธีเปลี่ยนเครื่องห่มหลวงพ่อขาวและพิธีบวงสรวง ณ วิหารหลวงพ่อขาว พิธีสักการะพระสังฆภารวาหมุนี (เนียม ภุมมสโร)
เวลา 09.00 น. ณ หอประชุมพิบูลสงคราม โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี นายศุภศิษฎ์ นุ่มฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี เป็นประธานในพิธีทำบุญ ประกาศสดุดีผู้ก่อตั้งเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ครบรอบ 125 ปี ปีพุทธศักราช 2442 พระสังฆภารวาหมุนี (เนียม ภุมมสโร) เจ้าอาวาสวัดในขณะนั้น เป็นองค์ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนขึ้นภายในวัด เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2442 เป็นครั้งแรก โดยใช้ตึกคชสารหรือโคโรซานเป็นที่เรียน มีนักเรียน จำนวน 18 คน และใช้ชื่อว่า “โรงเรียนประจำเมืองลพบุรี วัดเสาธงทอง” ปีพุทธศักราช 2458 พระสังฆภารวาหมุนี (เนียม ภุมมสโร) และชาวลพบุรีได้ร่วมกันบริจาค ทุนทรัพย์ เพื่อสร้างโรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี ณ บ้านหลวงรับราชทูต หรือบ้านวิชาเยนทร์ในปัจจุบัน โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี วิชาเยนทร์” ปีพุทธศักราช 2471 โรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี วิชาเยนทร์ ได้ย้ายมาเรียนชั่วคราว ที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 ที่ทางราชการยุบไปแล้ว ในขณะเดียวกันก็ได้ดำเนินการสร้างอาคารเรียนบริเวณ ส่วนเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดราชา) ซึ่งปัจจุบัน คือ สวนราชานุสรณ์ และในปีพุทธศักราช 2471 ได้ย้ายนักเรียนเข้ามาเรียนในสถานที่ดังกล่าว และให้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี พระนารายณ์”
ปีพุทธศักราช 2481 พลตรีหลวงพิบูลสงคราม (ยศในขณะนั้น) เป็นนายกรัฐมนตรี ได้วางผังเมืองใหม่พร้อมทั้งปรับปรุงการศึกษา โดยใช้งบประมาณของกระทรวงกลาโหม ได้จัดสร้าง โรงเรียนขึ้นที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๓ ที่ทางราชการยุบไปแล้ว โดยสร้างอาคารเรียน ตึก 1 และย้ายนักเรียนมาเรียนในที่สร้างใหม่นี้ ในปีพุทธศักราช 2481 ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน
ให้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี พิบูลวิทยาลัย” ตามนามพลตรีหลวงพิบูลสงคราม และต่อมาก็ได้มีการสร้าง “ตึก 2” และโรงอาหารเพิ่มขึ้น ปีพุทธศักราช 2522 นักเรียนโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย มีประมาณ 5,400 คน ครูประมาณ 320 คน ทำให้มีความแออัดของนักเรียนมากเกินไป ดังนั้น ปีพุทธศักราช 2523 จึงได้มีมติให้การแยกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไปจัดตั้งโรงเรียนแห่งใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียน พิบูลวิทยาลัย 2” ซึ่งต่อมากรมสามัญ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนพระนารายณ์” และได้ใช้ชื่อนี้มา จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนมาครบ 125 ปี เปิดสอนเฉพาะระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีห้องเรียนรวม 78 ห้องเรียน นักเรียน จำนวน 2,993 คน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จํานวน 153 คน ครูอัตราจ้างชาวไทยและต่างประเทศ จำนวน 15 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 27 คน พนักงานราชการ จำนวน 6 คน พนักงานขับรถ นักการ คนงาน แม่บ้าน จำนวน 34 คน รวมบุคลากรทั้งสิ้น 235 คน
ปรัชญาของโรงเรียน คือ “การให้การศึกษาเป็นการสร้างพื้นฐาน แห่งการพัฒนาตนและส่วนรวม” คติพจน์ คือ “สติ โลกสฺสมิ ชาคโร หมายถึง สติเป็นเครื่องปลุกในทันโลก” คำขวัญ คือ “มานะ วินัย ซื่อสัตย์ สามัคคี” พระพุทธรูปประจำโรงเรียน “หลวงพ่อขาว วัดพระยาออก” ต้นไม้ประจำโรงเรียน คือ “ต้นประดู่แดง” สีประจำโรงเรียน คือ “สีเขียวและสีแดง” ซึ่งสมเด็จพระธรรมญาณมุนี อดีตเจ้าคณะจังหวัด ลพบุรี เป็นผู้กำหนดตามสีประจำวันเกิดของ ฯพณฯ ท่านจอมพลป. และท่านผู้หญิงละเอียดพิบูลสงคราม โรงเรียนพิบูลวิทยาลัยมีความเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ สมดังปณิธานของปูชนียบุคคล ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียน แม้ว่าท่านจะวายชนม์ไปแล้ว แต่เกียรติและคุณงามความดีของท่าน ยังคงประจักษ์ชัดต่อสาธารณชนจวบจนปัจจุบัน
นายศุภศิษฎ์ นุ่มฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาลพบุรี กล่าวว่า โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดลพบุรี ที่มีจุดเริ่มต้นการจัดการศึกษา เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2442 ที่วัดเสาธงทอง โดยพระสังฆภารวาหมุนี (เนียม ภุมมสโร) เจ้าอาวาสวัดเสาธงทอง และได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้ง ณ ปัจจุบัน ในปี 2481 โดยพลตรีหลวงพิบูลสงคราม (ยศในขณะนั้น) โรงเรียนพิบูลวิทยาลัยจัดเป็นโรงเรียนยอดนิยมที่นักเรียนมีความใฝ่ฝันอยากเข้ามาเรียน เป็นอันดับแรกของจังหวัดลพบุรี โดยใน 1 ปีการศึกษาจะมีนักเรียนจากหลากหลายพื้นที่ หลายจังหวัดสมัครเข้าศึกษาต่อ เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพสูง สร้างนักเรียนที่มีคุณภาพ ทั้งทางด้านวิชาการ และด้านอาชีพ นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียง ได้สร้างชื่อเสียงให้กับท้องถิ่น และประเทศชาติอย่างมากมาย ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการร่วมแรงร่วมใจกันในการพัฒนาจากหลายภาคส่วน ทั้งผู้บริหาร ครู สมาคมผู้ปกครองและครู สมาคมนักเรียนเก่า มูลนิธิการศึกษาโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ชมรมครูเก่า ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน รวมทั้งส่วนราชการต้นสังกัด และส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดลพบุรี ที่ให้การสนับสนุน นายธรรมวิทย์ ธรรมพิธี ผู้อำนวยการโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย มีนโยบายให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ใน การศึกษาเล่าเรียนโดยจัดหาทุนการศึกษาสงเคราะห์ให้กับนักเรียน เพื่อให้สามารถศึกษาเล่า เรียนได้อย่างราบรื่น มีนโยบายส่งเสริมคนเก่ง โดยจัดหาทุนเรียนดีให้กับนักเรียนที่มีผลการ เรียนยอดเยี่ยม เพื่อยกย่องชมเชยและสร้างขวัญกำลังใจให้นักเรียนที่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ในปีการศึกษา 2567 โรงเรียนได้จัดสรรทุนการศึกษาให้กับนักเรียน
ทุนเรียนดี ทุนลูกพิบูล รวมทั้งสิ้น 724 ทุน เป็น จำนวน 164 ทุน เป็นเงิน 213,600.- บาท จำนวน 560 ทุน เป็นเงิน 1,400,000.-บาท เงิน 1,613,600.- บาทได้รับความ อนุเคราะห์จากดอกเบี้ยของกองทุนต่างๆ ในมูลนิธิการศึกษาพิบูลวิทยาลัย และองค์กรที่ ให้การสนับสนุน อาทิ พระราชวิสุทธิประชานาถ (อลงกต ติกฺขปญฺโญ) วัดพระบาทน้ำพุ สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย สมาคมนักเรียนเก่าพิบูลวิทยาลัย ชมรม ครูเก่า คณะครูเก่า ครูปัจจุบัน รวมทั้งศิษย์เก่า และผู้ปกครองรวมทั้งประชาชนที่มีจิตเมตตาร่วมกันบริจาคให้แก่นักเรียน นอกจากนี้มีพิธีมอบโล่และเกียรติบัตรครู บุคลากร และเจ้าหน้าที่ ครบ 20 ปี และ 15 ปี และพิธีมอบรางวัล ครูดีศรีพิบูล ปัจจุบัยมีนายธรรมวิทย์ ธรรมพิธี เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย